Archive ตุลาคม 2019

Artichoke เป็นสมุนไพรบำรุงเพื่อตับโดยเฉพาะ

การเป็นเบาหวานจากความผิดปกติของตับอ่อน

ข้อแตกต่างที่เป็นลักษณะเด่นของ pancreatic DM คือ

1.ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอมเพราะต้องมีการเสีย exocrine function  ทำให้การดูดซึมสารอาหารต่าง ๆได้ไม่ดีเท่าที่ควร

2. มีโอกาสเกิด DFA น้อยกว่าเนื่องจากยังพอมี beta-callutien หลงเหลือที่จะมีการหลั่ง insulin อยู่บ้าง และในคนไข้กลุ่มนี้มีการหลั่ง glucon ที่ลดลงเนื่องจากเซลล์และเนื้อเยื่อ ถูกทำลายไปด้วย รวมถึงคนไข้ pancreatic DM จะมีการสะสมของไขมันน้อย ซึ่งปัญหาและอาการเหล่านี้ล้วนทำให้เกิด ketogenesis ได้น้อย เว้นแต่มีปัจจัยกระตุ้นที่รุนแรงมาก

3. เกิด hypoglycemia ง่ายและยาวนานกว่าเบาหวานชนิดอื่น ๆเพราะ ขาด glucon และมีการตอบสนองต่อ

4. มี macrovascular complication ต่ำกว่าชนิดอื่น ๆ

 

โรคเบาหวานนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่สงผลกระทบต่อหลายระบบ ทั้งฟัน เหงือก ตา หัวใจ ไต ตับ สมอง และหลอดเลือดแดง รวมไปถึงการดำเนินชีวิต  ในประเทสไทยพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานมากถึง 3.5 ล้านคน ในกรณีที่เป็นเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนโรคอื่นๆก็จะตามมาได้ง่าย

ฮอร์โมอินซูลินจึงเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายรับประทานอาหารทุกวัน มีการเปลี่ยนแป้ง โปรตีน น้ำตาล หากมีอินซูลิน ก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานต่าง ๆในการกระกอบกิจกรรมและดำเนินชีวิต โดยอินซูลินนั้นถูกสร้างขึ้นจากตับอ่อน อวัยวะที่สำคัญส่วนหนึ่งในร่างกาย

 

โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ

  1. เบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากสภาวะตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงต้องฉีดอินซูลินกระตุ้นอยู่เสมอ
  2. เบาหวานประเภทที่ 2 เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ
  3. เบาหวานประเภทที่ 3 เบาหวานที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ อาจเกิดจากไตรมาส 2 และ 3 ในขณธที่ตั้งครรภ์อยู่
  4. เบาหวานประเภทที่ 4 เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ จากรับประทานยา สมุนไพร หรือโรคทางตับอ่อน

ดังนั้นเราจึงควรตรวจดูอาการ รักษาอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว และเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งนำมาสู่โรคร้ายแรง

อื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอ และถึงขั้นเสียชีวิตได้ เราสามารถบำรุงตับได้โดย Artichoke สมุนไพรบำรุงตับ ที่สามารถช่วยคุณได้

เลิกสูบบุหรี่ได้แน่ แค่ต้องมีกำลังใจ

 

ในปี 2557 มีการสำรวจข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ พบว่าคนไทยเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยพบว่ามีจำนวนผู้สูบบุหรี่สูงถึง 11.4 ล้านคน หรือประมาณ 20.7% ทั้งนี้ได้สำรวจพฤติกรรมการสูบ พบว่าสูบเป็นประจํา 10 ล้านคน และนานๆ ครั้ง 1.4 ล้านคน และสถิติการเสียชีวิตของกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ พบว่าในอีก 10-20 ปีถัดไปจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากบุหรี่ถึง 1 ใน 4 ข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทยพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากบุหรี่ 42,000-52,000 คน

บุหรี่อันตรายอย่างไร
แท้จริงแล้วควันบุหรี่ที่สูดดมเข้าไปต่างหากที่อันตรายมากๆ เพราะมีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด เป็นสารพิษไปแล้วกว่า 250 ชนิด นอกนั้นเป็นสารก่อมะเร็งมากกว่า 50 ชนิด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

วิธีเลิกบุหรี่สามารถทำได้หลายวิธี
คนที่เสพติดการสูบบุหรี่ แล้วคิดจะเลิกเพื่อสุขภาพของตนเองและคนที่คุณรัก จะต้องแน่วแน่และมีกำลังใจมากๆ ในการเลิก บุหรี่ก็เหมือนขนม หากคนที่รักการทานขนมมีความไขว้เขว ต่อขนมมากเพียงใด ผู้ติดบุหรี่ก็มีความโลเลมากเช่นกัน วิธีที่นำมาบอกวันนี้ ได้แก่
1) วิธีหักดิบหรือเลิกด้วยตัวเอง
การหยุดสูบบุหรี่ทันที วิธีนี้อาจจะดูเป็นวิธีที่พูดง่ายแต่ทำยากมาก เพราะพบว่าสถิติของผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ด้วยวิธีนี้ร้อยละ 90 ไม่ประสบความสำเร็จ และมักจะเกิดอาการขาดนิโคตินจนต้องกลับไปสูบอีกในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์
2) การใช้พฤติกรรมบำบัด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยชิน วิธีนี้คงเป็นวิธีที่ค่อนข้างต้องใช้ความพยายามมากเลยทีเดียว เพราะเราต้องพยายามหากห้ามใจตนเอง พยายามหลีกเลี่ยงอารมณ์ที่ทำให้เกิดความอยากสูบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อการเลิกบุหรี่ และอย่าลืมที่ว่าต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาล
3) การใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่
การใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ ได้แก่ การใช้ยาที่มีสารนิโคตินในขนาดต่ำ เช่น หมากฝรั่งอดบุหรี่หรือแผ่นแปะผิวหนังนิโคติน การใช้ยาชนิดเม็ดที่ไม่มีนิโคตินเพื่อช่วยลดอาการขาดนิโคติน
4) การฝังเข็มเพื่อช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่
การฝังเข็ม เพื่อช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่และคลายความหงุดหงิด

ทั้งนี้นอกจากการตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ก็ไม่ควรที่จะลืมไปตรวจคัดกรองโรคที่เป็นผลจากการสูบบุหรี่ด้วย เพื่อให้รู้ตัวเองก่อนว่าเป็นโรคร้ายอย่างโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอดหรือไม่ จะได้รักษาได้ทันท่วงที

ป่วยเป็น โรคไตเรื้อรัง ทานอะไรได้บ้าง

ภาวะโภชนาการถือเป็นปัจจัยสำคัญ ในการช่วยชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง ตั้งแต่ระยะต้นจนถึงระยะไตวายเรื้อรัง ก่อนจะต้องฟอกไตหรือในภาวะไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่การทำงานของไต คือ

  1. ขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารจากโปรตีนต่างๆ
  2. ขับแคลเซียมส่วนเกิน อย่างเช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส หรือเกลือแร่อื่นๆ

 

เพราะฉะนั้นอาหารการกินที่มุ่งเน้นจะช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก โดยที่ไตเสื่อมระยะต้นจะต้องควบคุมในส่วนของอาหารเค็ม การควบคุมจะมีประโยชน์ เนื่องจากอาหารเค็มนั้นมาจากเกลือโซเดียม หากมีเกลือโซเดียมในร่างกายมากจะทำให้ร่างกายบวม ภาวะเหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของไต และหากมีเกลือโซเดียมเยอะหรือมีความดันโลหิตสูง ภาวะในร่างกายก็จะสูงขึ้นด้วย หากควบคุมอาหารเค็ม ลดเกลือโซเดียมลง ก็จะช่วยควบคุมอาการหรือชะลอในส่วนของภาวะไตวายเรื้อรังได้ง่ายขึ้น

ประการต่อมาคือโปรตีน ร่างกายที่ได้รับโปรตีนจะย่อยสลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อดูดซึมและเกิดเป็นของเสียขึ้นขับออกมาในรูปยูเรีย ถ้าโปรตีนในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะโปรตีนที่ไม่มีประโยชน์ จะเกิดของเสียเยอะ ทำให้ไตทำงานหนัก

และต่อมา คือ โพแทสเซียม ไตทำหน้าที่หลักขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย หากทานโพแทสเซียมมาก ในเวลาที่ไตเสื่อม ไตทำงานน้อย จะทำให้โพแทสเซียมค้างอยู่ในร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นต้องคุมอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้บางชนิด จำพวกกล้วย ส้ม หรือผลไม้ที่มีสีจัด ผักใบเขียวที่เข้ม และควรลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ น้ำอัดลม เมล็ดทานตะวัน อาหารแปรรูป นม เนย ถั่วต่างๆ ที่ต้องระมัดระวังและลดปริมาณลง

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 หรือ 5 จะมีของเสียในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จะมีผลกระทบไปถึงการเบื่ออาหาร การทานอาหารได้น้อย เป็นผลกระทบสำคัญที่ทำให้เกิดการทุกข์ทางโภชนาการ จึงจำเป็นที่ต้องแนะนำให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน แต่ยังต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสม เช่นไม่ได้รับโปรตีน อาหารที่มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโซเดียมที่สูงมากเกินไป แต่ควรให้สมดุลกันระหว่างภาวะโภชนาการที่ดี กับการควบคุมไม่ให้มีเกลือแร่คลั่งในร่างกายมากเกินไปเช่นกัน

ประเภทอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสิ่งที่ทานได้หรือทานไม่ได้
ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม เน้นเป็นพวกแป้งข้าวเจ้า วุ้นเส้น อาหารที่ย่อยง่าย

ในกลุ่มของโปรตีนแบ่งเป็นอกเป็น 2 กลุ่ม
2.1 โปรตีนคุณภาพสูงพวกเนื้อปลา เนื้อไก่ที่ไม่มัน เนื้อหมูสันใน จำพวกเนื้อสัตว์ที่มัน และน้ำมันพืช
2.2 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือมีไขมันอิ่มตัวสูงก็ เช่น น้ำที่ทำจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว ของทอด ของมันต่างๆ เพราะจะทำไขมันในเลือดสูง คอเรสเตอรอลมากในร่างกายจะเป็นปัจจัยเสริมเหมือนกันที่ทำให้อาการแย่ลง
ในส่วนของหมวดหมู่วิตามิน เกลือแร่ พยายามหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาหารเค็มมีผลโดยตรงต่อไต หลีกเลี่ยงอาหารโพแทสเซียมสูงในไตที่เริ่มเสื่อมมาก พวกวิตามินต่างๆสามารถทานได้ปกติ แต่ควรระมัดะวัง บางประเภทที่ทำให้เกิดพิษหรือเกิดการสะสมในไต ระวังวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินซี เพราะมีโอกาสสะสมได้

การแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
คนไข้ที่เป็นโรคไตต้องมีการปรับตัว จากรับประทานอาหารปกติ ต้องควบคุมอาหารให้มากขึ้น ค่อยๆปรับตัว หากยังไม่สามารถลดหรือไม่สามารถควบคุมอาหารได้ร้อยเปอร์เซ็น ก็ค่อยๆลดปริมาณเนื้อสัตว์ที่มาก ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือลดลง10-20 เปอร์เซ็น ลดโปรตีนในบางมื้อ ลดอาหารมันจนถึงจุดที่สมดุลแล้ว หากสามารถลดได้แล้ว ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับอายุรแพทย์ทางโภชนาการหรืออายุรแพทย์ทางโรคไตมาช่วยประเมินว่าการทำงานของไต ความดัน และเกลือแร่ในเลือดสมดุลดีหรือไม่ ต้องทานอาหารกลุ่มใดเป็นพิเศษเพิ่มเติม