Category สุขภาพเกี่ยวกับหู

หูฟังใช้อย่างไรไม่ทำให้หูหนวก

อาจพูดได้ว่าปัจจุบันหูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ผู้คนนิยมใช้งานกันมากอย่างหนึ่ง เพราะไม่ว่าเราจะฟังข่าว เล่นเกม หรือฟังเพลง เราสามารถใช้หูฟังเพื่อให้เสียงที่เราได้ยินไม่ไปรบกวนผู้อื่น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้หูฟังนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะหากเราใช้หูฟังอย่างไม่ถูกต้อง จะมีผลเสียระบบการได้ยินของหูของเราด้วย เช่นทำให้หูหนวกได้  

         ปัจจุบันหูฟังมีการจำผลิตและจำหน่ายอยู่ 3 แบบ เราเรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบาง และเราควรเลือกใช้หูฟังแบบไหน ที่จะทำให้หูของเราไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคหูหนวก

1.หูฟังแบบที่ครอบหู  ซึ่งหูฟังชนิดนี้จะนิยมใช้งานกันมากในกลุ่มวัยรุ่น โดยหูฟังแบบนี้จะสามารถป้องกันเสียงของบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้  ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับระดับความดังของเสียงมากเกิดไป จึงไม่เกิดอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียคือหูฟังชนิดนี้จะมีลักษณะที่ใหญ่ บางคนจะรู้สึกไม่สะดวกที่จะต้องพกพาออกไปใช้งานนอกบ้าน

2.หูฟังแบบเอียร์บัด  สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะไม่ค่อยช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากบรรยากาศรอบนอกได้ดีนัก การใช้งานเพียงใส่ไว้ที่รอบนอกรูหู ดังนั้นคนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานเมื่อยามออกนอกบ้านเท่านั้น แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อไม่สามารถกั้นเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีการปรับระดับเสียงที่หูฟังให้มีความดังมากขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียต่อหู อาจะทำให้เกิดปัญหาแก้วหูอักเสบหรือเป็นโรคหูหนวกได้

3.หูฟังชนิดเสียบหู สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะมีขนาดเล็กสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถป้องกันเสียงบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปรบกวนในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับเสียงให้ดังมากนัก ไม่เป็นอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อเราไม่ได้ยินเสียงภายนอก อาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุได้หากนำมาใช้งานนอกบ้าน

             ที่บอกว่าหูฟังจะมีผลกระทบต่อการทำให้หูหนวกนั้น เพราะโดยปกติแล้วคนเราไม่ควรฟังเสียงที่ดังเกิน 90 เดซิเบลและการใช้งานหูฟังก็ไม่ควรใช้งานนานต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมงที่สำคัญเราควรปรับความดังของหูฟังไม่ควรเกิน 60 % ของความดังสูงสุดของอุปกรณ์ ซึ่งหากหูของเราได้ยินเสียงที่ดังมากๆ นานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาหูอักเสบหรือหูหนวกได้ 

         อาจพูดได้ว่าปัจจุบันหูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ผู้คนนิยมใช้งานกันมากอย่างหนึ่ง เพราะไม่ว่าเราจะฟังข่าว เล่นเกม หรือฟังเพลง เราสามารถใช้หูฟังเพื่อให้เสียงที่เราได้ยินไม่ไปรบกวนผู้อื่น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้หูฟังนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะหากเราใช้หูฟังอย่างไม่ถูกต้อง จะมีผลเสียระบบการได้ยินของหูของเราด้วย เช่นทำให้หูหนวกได้  

         ปัจจุบันหูฟังมีการจำผลิตและจำหน่ายอยู่ 3 แบบ เราเรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบาง และเราควรเลือกใช้หูฟังแบบไหน ที่จะทำให้หูของเราไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคหูหนวก

1.หูฟังแบบที่ครอบหู  ซึ่งหูฟังชนิดนี้จะนิยมใช้งานกันมากในกลุ่มวัยรุ่น โดยหูฟังแบบนี้จะสามารถป้องกันเสียงของบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้  ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับระดับความดังของเสียงมากเกิดไป จึงไม่เกิดอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียคือหูฟังชนิดนี้จะมีลักษณะที่ใหญ่ บางคนจะรู้สึกไม่สะดวกที่จะต้องพกพาออกไปใช้งานนอกบ้าน

2.หูฟังแบบเอียร์บัด  สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะไม่ค่อยช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากบรรยากาศรอบนอกได้ดีนัก การใช้งานเพียงใส่ไว้ที่รอบนอกรูหู ดังนั้นคนที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานเมื่อยามออกนอกบ้านเท่านั้น แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อไม่สามารถกั้นเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้าไปในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีการปรับระดับเสียงที่หูฟังให้มีความดังมากขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียต่อหู อาจะทำให้เกิดปัญหาแก้วหูอักเสบหรือเป็นโรคหูหนวกได้

3.หูฟังชนิดเสียบหู สำหรับหูฟังชนิดนี้ จะมีขนาดเล็กสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถป้องกันเสียงบรรยากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าไปรบกวนในหูได้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องปรับเสียงให้ดังมากนัก ไม่เป็นอันตรายต่อหู แต่ข้อเสียของหูฟังชนิดนี้คือ เมื่อเราไม่ได้ยินเสียงภายนอก อาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุได้หากนำมาใช้งานนอกบ้าน

             ที่บอกว่าหูฟังจะมีผลกระทบต่อการทำให้หูหนวกนั้น เพราะโดยปกติแล้วคนเราไม่ควรฟังเสียงที่ดังเกิน 90 เดซิเบลและการใช้งานหูฟังก็ไม่ควรใช้งานนานต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมงที่สำคัญเราควรปรับความดังของหูฟังไม่ควรเกิน 60 % ของความดังสูงสุดของอุปกรณ์ ซึ่งหากหูของเราได้ยินเสียงที่ดังมากๆ นานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาหูอักเสบหรือหูหนวกได้

 

ขอขอบคุณ เครื่องช่วยฟัง ที่ให้การสนับสนุน

การใช้หูฟังแบบผิดๆเสี่ยงหูหนวกได้

อย่างที่ทราบกันดีว่าหูฟังนั้นเป็นการขยายเสียงในรูปแบบหนึ่งซึ่งการบฏิบัติการของมันก็คล้ายๆกับการทำงานในรูปแบบของลำโพงแต่เป็นการทำงานโดยผ่านกึ่งกลางด้วยการผ่านสายมาส่งตรงต่อหูของเรา 

ต้องยอมรับว่าสมัยนี้คนส่วนใหญ่นิยมใช้หูฟังกันมากและเป็นสิ่งที่ทุกคต้องการมากๆพอกับสิ่งของจำเป็นชนิดอื่นๆเพื่อเป็นการใช้คู่กับมือถือในยุคสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆก็ตาม คนส่วนใหญ่มักจะใช้มือถือพร้อมกับหูฟังคู่ใจไปในทุกๆที่ ขนาดการออกกำลังกายตามสาธารณะยังใช้มือถือกับหูฟังกันสะเสียส่วนมากเลย นี่แค่ยกตัวอย่างนะยังไม่รวมไปถึงการใช้งานดูหนังฟังเพลงหรือกรใช้แอพอื่นๆที่ต้องอาศัยมือถือกับหูฟังด้วยเลยแหละ

การที่เรานำตนเองเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนมากมาย ดังนั้นการใช้หูฟังไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมอย่างไหนก็ตามถือว่าเป็นมารยาทอย่างหนึ่ง ซึ่งการใช้หูฟังนั้นทำให้เสียงของมันไม่ก่อเกิดเสียงที่รบกวนบุคคลอื่นๆหรือรบกวนคนรอบข้าง ซึ่งเราควรมีหูฟังเพื่อเป็นมารยาทในการเข้าสังคมเหล่านั้น ไม่ใช่เปิดโดยไม่สนใจบุคคลอื่น นั้นคือคนที่แย่กับการเข้าสังคม

ความรู้เกี่ยวกับการใช้หูฟัง

เดิมทีหูฟังเรามีการนำมาใช้งานนานมากแล้ว แต่ไม่ค่อยนิยมกันเท่าไหร่นักเพราะส่วนใหญ่ในสมัยโบราณนั้นคนที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกทหาร เพื่อใช้ติต่อสื่อสารกัน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนารูปแบบที่ทันสมัยขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงการใช้งานที่เราเห็นในปัจจุบัน 

ส่วนมากที่นิยมใช้หูฟังมีใครบ้าง

ในกลุ่มผู้ที่มีการนำหูฟังไปใช้งานมากที่สุดนั้นก็คือกลุ่มของวัยรุ่น เพราะเป็นกลุ่มเดียวกับการใช้มือถือมากที่สสุด อย่างที่บอกว่ามือถือส่วนใหญ่ก็มีความนิยมมากและหูฟังในสมัยนี้ก็ต้องใช้งานกับมือถือเช่นกัน กลุ่มต่อไปที่มีการใช้งานมากก็น่าจะเป็นวัยกลางคนที่มีการติดต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานหรือแม้แต่การใช้ในเวลาขับรถซึ่งการใช้หูฟังที่มากจนเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลให้ดีเท่าไหร่นัก เพราะเราควรใช้ในบริมาณที่พอดีจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อหูของเราหากใช้งานมากจนเกินไปที่ใช้ความดังมากๆหรือเกิดกำหนดที่ตั้งไว้

เราอาจจะมีผลข้างเคียงที่จะก่อให้เกิดการได้ยินที่ผิดปกติไปจากเดิมก็ได้ ซึ่งนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องพึ่ง เครื่องช่วยฟัง ในอนาคตก็ได้ ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ใช้ในปริมาณเสียงที่พดีและไม่ควรใช้นานเกินไปควรให้หูของเราได้พักบ้าง

ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ 

คนเราทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น การทำงานของร่างกายก็จะเสื่อมถอยลง

ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องการมองเห็น ปัญหากล้ามเนื้อจะค่อยลีบลง ปัญหาเรื่องการกระดูกที่พบว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุนกันเยอะ ปัญหาโรคหัวใจ ปัญหาหาผิวหนังแห้งง่ายหรือแม้แต่ปัญหาการได้ยิน อย่างที่คนมักจะชอบพูดกันว่าเมื่อแก่ตัวแล้วทุกอย่างก็จะหย่อนยานไปหมด เหลืออยู่อย่างเดียวที่เท่านั้นที่ตึง นั่นก็คือหู

  การหูตึงในคนแก่นั้นไม่ได้หมายถึงผิวหนังที่เต่งตึงแต่หมายถึงประสิทธิภาพการรับฟังเสียงของคนสูงอายุจะลดลง จะได้ยินเสียงเบาหรือบางครั้งไม่ได้ยินเลย ดังนั้นหลายครั้งที่จะเห็นคนสูงอายุเวลาดูทีวีจะมีการเปิดเสียงที่ดังมากๆ สำหรับนิยามของคำว่าผู้สูงอายุนั้นจะหมายถึงคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หากมีอายุที่มากขึ้นย่อมประสบกับปัญหาการได้ยินกันทุกคน

แต่รู้หรือไม่ว่าการปล่อยที่ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการได้ยินนั้น ไม่ใช่แค่จะมีปัญหาเรื่องการพูดคุยสื่อสารกันเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องของสุขภาพอื่นๆตามมามากมายอีกด้วย อย่างแรกที่เราจะพบเลยหากผู้สูงอายุเริ่มที่จะไม่ได้ยิน พวกท่านจะเริ่มตีตัวออกจากสังคม จะชอบอยู่คนเดียวเพราะพวกท่านจะพบปัญหาว่าเมื่อท่านคุยกับใครแล้ว ท่านจะไม่ค่อยได้ยินและคนอื่นก็จะไม่อยากคุยกับพวกท่านเพราะบางครั้งการที่เราต้องตะโกนคุยกับคนที่มีปัญหาทางหูก็จะทำให้เรามีอารมณ์หงุดหงิดและไปพาลใส่พวกท่านได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ผู้สูงอายุที่รับรู้ว่าตัวเองมีปัญหาด้านการได้ยินจึงไม่ค่อยอยากจะคุยกับใคร ชอบออกมาอยู่คนเดียว และเมื่อไม่มีสังคมให้พูดคุย ผลที่ตามมาอีกก็คือจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิต มีหลายรายที่เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าแล้วก็จะมีการพยายามฆ่าตัวตาย เพราะคิดว่าลูกหลาน คนในครอบครัวไม่รัก และหากสมองไม่มีการพัฒนา ไม่มีการถูกกระตุ้นด้วยเสียงบ่อยๆนานไปเข้าก็จะทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้อีกด้วย  

จะเห็นได้ว่าแค่ปัญหาเรื่องของการได้ยินเพียงอย่างเดียวสามารถส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงให้กับผู้สูงอายุได้อีกมากมาย ดังนั้นเราควรมีการดูแลและใส่ใจ หากท่านมีปัญหาด้านการได้ยินควรพาท่านไปปรึกษาแพทย์เพราะปัจจุบันมีเครื่องช่วยฟังที่สามารถช่วยให้พวกท่านได้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ และมีความสุขในราคาที่ไม่แพง