ป่วยเป็น โรคไตเรื้อรัง ทานอะไรได้บ้าง

ภาวะโภชนาการถือเป็นปัจจัยสำคัญ ในการช่วยชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง ตั้งแต่ระยะต้นจนถึงระยะไตวายเรื้อรัง ก่อนจะต้องฟอกไตหรือในภาวะไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่การทำงานของไต คือ

  1. ขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารจากโปรตีนต่างๆ
  2. ขับแคลเซียมส่วนเกิน อย่างเช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส หรือเกลือแร่อื่นๆ

 

เพราะฉะนั้นอาหารการกินที่มุ่งเน้นจะช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก โดยที่ไตเสื่อมระยะต้นจะต้องควบคุมในส่วนของอาหารเค็ม การควบคุมจะมีประโยชน์ เนื่องจากอาหารเค็มนั้นมาจากเกลือโซเดียม หากมีเกลือโซเดียมในร่างกายมากจะทำให้ร่างกายบวม ภาวะเหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของไต และหากมีเกลือโซเดียมเยอะหรือมีความดันโลหิตสูง ภาวะในร่างกายก็จะสูงขึ้นด้วย หากควบคุมอาหารเค็ม ลดเกลือโซเดียมลง ก็จะช่วยควบคุมอาการหรือชะลอในส่วนของภาวะไตวายเรื้อรังได้ง่ายขึ้น

ประการต่อมาคือโปรตีน ร่างกายที่ได้รับโปรตีนจะย่อยสลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อดูดซึมและเกิดเป็นของเสียขึ้นขับออกมาในรูปยูเรีย ถ้าโปรตีนในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะโปรตีนที่ไม่มีประโยชน์ จะเกิดของเสียเยอะ ทำให้ไตทำงานหนัก

และต่อมา คือ โพแทสเซียม ไตทำหน้าที่หลักขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย หากทานโพแทสเซียมมาก ในเวลาที่ไตเสื่อม ไตทำงานน้อย จะทำให้โพแทสเซียมค้างอยู่ในร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นต้องคุมอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้บางชนิด จำพวกกล้วย ส้ม หรือผลไม้ที่มีสีจัด ผักใบเขียวที่เข้ม และควรลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ น้ำอัดลม เมล็ดทานตะวัน อาหารแปรรูป นม เนย ถั่วต่างๆ ที่ต้องระมัดระวังและลดปริมาณลง

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 หรือ 5 จะมีของเสียในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จะมีผลกระทบไปถึงการเบื่ออาหาร การทานอาหารได้น้อย เป็นผลกระทบสำคัญที่ทำให้เกิดการทุกข์ทางโภชนาการ จึงจำเป็นที่ต้องแนะนำให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน แต่ยังต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสม เช่นไม่ได้รับโปรตีน อาหารที่มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโซเดียมที่สูงมากเกินไป แต่ควรให้สมดุลกันระหว่างภาวะโภชนาการที่ดี กับการควบคุมไม่ให้มีเกลือแร่คลั่งในร่างกายมากเกินไปเช่นกัน

ประเภทอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสิ่งที่ทานได้หรือทานไม่ได้
ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม เน้นเป็นพวกแป้งข้าวเจ้า วุ้นเส้น อาหารที่ย่อยง่าย

ในกลุ่มของโปรตีนแบ่งเป็นอกเป็น 2 กลุ่ม
2.1 โปรตีนคุณภาพสูงพวกเนื้อปลา เนื้อไก่ที่ไม่มัน เนื้อหมูสันใน จำพวกเนื้อสัตว์ที่มัน และน้ำมันพืช
2.2 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือมีไขมันอิ่มตัวสูงก็ เช่น น้ำที่ทำจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว ของทอด ของมันต่างๆ เพราะจะทำไขมันในเลือดสูง คอเรสเตอรอลมากในร่างกายจะเป็นปัจจัยเสริมเหมือนกันที่ทำให้อาการแย่ลง
ในส่วนของหมวดหมู่วิตามิน เกลือแร่ พยายามหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาหารเค็มมีผลโดยตรงต่อไต หลีกเลี่ยงอาหารโพแทสเซียมสูงในไตที่เริ่มเสื่อมมาก พวกวิตามินต่างๆสามารถทานได้ปกติ แต่ควรระมัดะวัง บางประเภทที่ทำให้เกิดพิษหรือเกิดการสะสมในไต ระวังวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินซี เพราะมีโอกาสสะสมได้

การแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
คนไข้ที่เป็นโรคไตต้องมีการปรับตัว จากรับประทานอาหารปกติ ต้องควบคุมอาหารให้มากขึ้น ค่อยๆปรับตัว หากยังไม่สามารถลดหรือไม่สามารถควบคุมอาหารได้ร้อยเปอร์เซ็น ก็ค่อยๆลดปริมาณเนื้อสัตว์ที่มาก ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือลดลง10-20 เปอร์เซ็น ลดโปรตีนในบางมื้อ ลดอาหารมันจนถึงจุดที่สมดุลแล้ว หากสามารถลดได้แล้ว ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับอายุรแพทย์ทางโภชนาการหรืออายุรแพทย์ทางโรคไตมาช่วยประเมินว่าการทำงานของไต ความดัน และเกลือแร่ในเลือดสมดุลดีหรือไม่ ต้องทานอาหารกลุ่มใดเป็นพิเศษเพิ่มเติม